International Field Epidemiology Training Program-Thailand

หลักการสำคัญของโครงการ

เน้นกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและพัฒนาความรู้ควบคู่ไปด้วย (On-the-job-training) ภายใต้การแนะน่า และการสอนจากพี่เลี้ยงหรือผู้ที่มีประสบการณ์ (Mentor) ทั้งนี้ การเข้าร่วมโครงการฯ เป็นการช่วยราชการที่ส่านักระบาดวิทยา ซึ่งจะไม่เสียสิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือน Generic placeholder image

กิจกรรมของโครงการ

อบรมความรู้ด้านระบาดวิทยาภาคสนามเบื้องต้น
  • ประชุมวิชาการ และบรรยายพิเศษด้านระบาดวิทยาประจ่าสัปดาห์
  • ฝึกทักษะการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา
  • ฝึกการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา (โปรแกรม Epi-info)
  • ฝึกการพยากรณ์โรคและการประเมินความเสี่ยงใน งานระบาดวิทยา
  • อบรมความรู้และฝึกทักษะการเก็บตัวอย่าง รวมทั้งการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ฝึกทักษะการประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
  • ท่าหน้าที่หัวหน้าทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)
  • ท่าหน้าที่เป็นทีมประเมินสถานการณ์สาธารณสุข (Situation Awareness Team)
Generic placeholder image

วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม

  1. เพื่อสร้างบุคลากรด้านสาธารณสุข ให้มีความรู้ ความชำนาญในงานระบาดวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังและการสอบสวนทางระบาดวิทยา รวมถึงการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
  2. สามารถเป็นผู้จัดการระบบเฝ้าระวังโรค หรือหัวหน้าทีมในการสอบสวนโรคของหน่วยงานได้
  3. มีภาพลักษณ์ของนักระบาดวิทยาที่ปฏิบัติงานอย่างมีหลักวิชาและจริยธรรม มีความมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
  4. มีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานภาคสนาม
Generic placeholder image Generic placeholder image

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม


ผู้ผ่านโครงการฯสามารถเป็นหัวหน้าทีมในการสอบสวนควบคุมโรค หรือ เป็นผู้จัดการระบบเฝ้าระวังของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติส่าหรับการเป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ตาม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 สามารถสร้างผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ และน่าเสนอในเวทีวิชาการระดับประเทศ

วิธีการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรมมีกำหนดระยะเวลา 13 เดือน (56 สัปดาห์) ในการฝึกอบรมได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตร “5 กลุ่มวิชา 5 รูปแบบการเรียนการสอน และ 8 หน่วยฝึก”
5 กลุ่มวิชา ได้แก่
  1. หลักระบาดวิทยาและการป้องกันควบคุมโรค
  2. การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
  3. การสอบสวนโรค
  4. การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
  5. การจัดการข้อมูลและนำเสนอทางวิชาการ
5 รูปแบบ ได้แก่
  1. การอบรมระบาดวิทยาเบื้องต้น
  2. การประชุมเชิงปฏิบัติการ
  3. การฝึกงาน
  4. การศึกษาดูงาน
  5. การประชุมวิชาการประจำสัปดาห์

8 หน่วยฝึก โดยมีบุคลากรจาก 7 กลุ่มงาน ของกองระบาดวิทยา และ กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน ร่วมดำเนินการ

ระยะเวลาฝึกอบรม

  1. ทฤษฎีระบาดวิทยาพื้นฐาน 2 สัปดาห์
  2. การสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา และ SAT ( 3 เดือน )
      ทฤษฎีเฉพาะสาขา
    • การสอบสวนทางระบาดวิทยาขั้นสูง และ EOC (3 เดือน)
    • การวิเคราะห์ข้อมูล และ การพยากรณ์โรค (3 เดือน)
    • ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา และ การประเมินระบบเฝ้าระวังฯ (3 เดือน)

ข้อกำหนดของหลักสูตร:


ผู้เข้ารับการอบรมที่จะจบหลักสูตรต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1. มีผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
  2. ผ่านการสอบวัดผล ทั้งการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ และสอบปากเปล่า
  3. เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  4. ผ่านการประเมินทัศนคติและมนุษยสัมพันธ์

การรับสมัคร

คุณสมบัติผู้สมัคร


  1. เป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข
  2. เป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรระบาดวิทยาและการจัดการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (FEMT) หรือ เป็นผู้มีคุณวุฒิและประสบการณ์ ดังนี้
    1. มีวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรี ได้แก่ สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ หรือสาขาอื่น ทางด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพ
    2. มีประสบการณ์งานสาธารณสุขไม่น้อยกว่า 5 ปี
    3. มีประสบการณ์ในงานระบาดวิทยา
  3. มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  4. เป็นผู้ที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านระบาดวิทยาและป้องกันควบคุมโรคภายหลังจบการฝึกอบรม

การรับสมัคร

  • หมดเขตรับสมัคร 30 กันยายน 2563
  • จะมีการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติ และจะแจ้ง ผลการสอบให้ผู้สมัครทราบ

หลักฐานการสมัคร

  • แบบฟอร์มใบสมัครที่ผู้สมัครกรอกข้อมูลครบถ้วนชัดเจน ดาวน์โหลดใบสมัคร
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จํานวน 1 ใบ
  • สําเนาบัตรประชาชน หรือสําเนาบัตรข้าราชการ พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง
  • สําเนาใบปริญญาบัตร หรือเอกสารที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ ก.พ. รับรองว่าสําเร็จ การศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง
  • หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาให้มาช่วยราชการ 1 ปี ที่กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
**จะมีการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติ และจะแจ้ง ผลการสอบให้ผู้สมัครทราบ

สถานที่จัดฝึกอบรม

กลุ่มพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนามและเครือข่าย
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
ชั้น 3 อาคาร 10 ตึกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร. 0 2590 3894 โทรสาร 0 2590 3845

ติดต่อผู้ประสานงาน


นางสาวชลธิชา นอบเผือก โทรศัพท์เคลื่อนที่ 086 214 8982 Email : oum_nu2010@hotmail.com
นางสาวหนึ่งฤทัย ศรีสง โทรศัพท์เคลื่อนที่ 089 934 1624 Email : Supers.beerzaa@gmail.com