ชื่อหลักสูตร | ||
(ภาษาไทย) | หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา | |
Residency Training in Preventive Medicine (Epidemiology) | ||
วุฒิบัตร | ||
ชื่อเต็ม | ||
(ภาษาไทย) | วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา | |
(ภาษาอังกฤษ) | Diploma of the Thai Board of Preventive Medicine (Epidemiology) | |
ชื่อย่อ | ||
(ภาษาไทย) | วว.เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา | |
(ภาษาอังกฤษ) | Dip. Preventive Medicine (Epidemiology) | |
คำแสดงวุฒิท้ายชื่อ | ||
(ภาษาไทย) | วว. ระบาดวิทยา | |
(ภาษาอังกฤษ) | Diplomat, Thai Board of Preventive Medicine (Epidemiology) |
ระบาดวิทยาถือเป็นศาสตร์สำคัญที่สุดแขนงหนึ่งที่ใช้ในการแก้ปัญหาสาธารณสุขด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม การบาดเจ็บ ปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ การสร้างบุคลากรสาธารณสุขให้มีทั้งองค์ความรู้และทักษะในการประยุกต์หลักการทางระบาดวิทยาเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชนซึ่งมีความหลากหลายและเป็นพลวัตรจึงถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานสาธารณสุข การจัดการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา ให้มีคุณภาพถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการทำงานด้านระบาดวิทยาของประเทศ โดยการพัฒนาแพทย์ให้มีความรู้ความชำนาญด้านระบาดวิทยาภาคสนาม ที่สามารถทำงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งได้แก่ การระบาดของโรคติดต่อชนิดต่างๆทั้งที่เป็นโรคที่เป็นปัญหามานานและโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ การบาดเจ็บ ปัญหาสุขภาพจากภัยพิบัติหรืออาวุธชีวภาพ ฯลฯ อีกทั้งสามารถพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของตนโดยการติดตามค้นคว้าหาความรู้หรือวิทยาการใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นผู้นำหรือที่ปรึกษาให้กับนักระบาดวิทยาที่ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในระบบการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของประเทศ
โครงการฝึกอบรมฯ ได้กำหนดสัดส่วนของการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็นงานภาคสนามเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงร้อยละ 70 และการเรียนรู้ในห้องเรียนในรูปแบบบรรยายและประชุมวิชาการร้อยละ 30 ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ที่สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และที่ศูนย์ฝึกอบรมฯ เป็นระยะเวลารวม 2 ปี (Two-year in-service training program)
ระยะเวลาศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยแบ่งระยะเวลาการฝึกอบรมดังนี้
กิจกรรม | |||
ปีที่ 1 | ปีที่ 2 | ปีที่ 3 | |
การฝึกอบรมพื้นฐานด้านระบาดวิทยาและชีวสถิติ ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและการควบคุมป้องกัน | 4 | ||
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์ทางสถิติ | 2 | 1 | |
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ | 1 | ||
การฝึกอบรมทักษะด้านการสื่อสารและการนำเสนอผลงานทางวิชาการ | 1 | ||
การประชุมวิชาการ การนำเสนอผลงานทางระบาดวิทยา และการบรรยายพิเศษ | 8 | 8 | |
การตรวจสอบข่าวและเหตุการณ์สำคัญทางระบาดวิทยา | 4 | 2 | |
การสอบสวนทางระบาดวิทยาและการควบคุมป้องกัน | 12 | 9 | |
การศึกษาและประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา | 5 | 4 | |
การวิเคราะห์สถานการณ์และคาดการณ์แนวโน้มปัญหาสุขภาพที่สำคัญ | 4 | 4 | |
การศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา | 3 | 16 | |
การปฏิบัติงานด้านคลินิคและระบาดวิทยาในสถานบริการสุขภาพ | 4 | ||
การปฏิบัติงานด้านระบาดวิทยาการเฉพาะทางในสถาบันหรือหน่วยงานด้านระบาดวิทยาหรือสาธารณสุข | 4 | 8 | |
หลักสูตรปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตหรือวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาระบาดวิทยา หรือหลักสูตรปริญญาโทหรือปริญญาเอกสาขาอื่นๆ ที่ได้รับความเห็นชอบ | 52 | ||
รวม | 52 | 52 | 52 |